Featured News
Posts List
Posts Slider
Health
-
แผลในปาก มีอาการแบบไหน เป็นแล้วรักษาอย่างไร
แผลในปาก เป็นอาการที่พบได้ทั่วไป เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อย่างการกัดริมฝีปาก แผลจากรับประทานของร้อน โรคเชื้อราในปาก หรือแม้แต่การละเลยสุขอนามัยในช่องปาก การเกิดแผลด้านในปากอาจทำให้รู้สึกระคายเคือง เมื่อรับประทานอาหารรสจัดและรู้สึกเจ็บขณะแปรงฟัน เคี้ยวอาหาร โดยปกติแผลในปากสามารถหายได้เอง แต่การใช้ยาร่วมกับการดูแลตนเองก็จะช่วยให้แผลสมานได้เร็วขึ้น
แผลในปาก มีอาการอย่างไร
แผลในปากอาจเกิดขึ้นเพียงจุดเดียวหรือหลายจุดพร้อมกันได้จะรู้สึกเจ็บเมื่อสัมผัส ซึ่งอาจเป็นปัญหาในการแปรงฟันและการเคี้ยวอาหาร โดยเฉพาะเมื่อรับประทานอาหารรสจัดหรือของร้อน
นอกจากนี้ ลักษณะอาการของแผลในปากอาจแบ่งได้ตามขนาดและชนิด ดังนี้
- แผลขนาดเล็กเป็นชนิดที่พบได้บ่อยมากที่สุด โดยแผลจะมีลักษณะเป็นวงกลมหรือวงรีขนาดเล็ก สามารถหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์
- แผลขนาดใหญ่มักพบได้น้อย มีลักษณะเป็นวงกลมและวงรีขนาดใหญ่และลึกกว่าแผลขนาดเล็ก ขอบแผลชัดแต่เมื่อแผลมีขนาดใหญ่มากขอบของแผลอาจมีลักษณะที่เปลี่ยนไป เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเจ็บมากโดยอาจใช้เวลาราว 6 สัปดาห์ในการรักษาและอาจทิ้งรอยแผลเป็นไว้
- แผลเฮอร์ปิติฟอร์ม (Herpetiform) เป็นแผลที่พบได้ยาก ขนาดเล็กแต่มีจำนวนมากซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ 10-100 จุด และอาจขยายรวมกันจนกลายเป็นแผลใหญ่แผลเดียว มีลักษณะขอบแผลที่ไม่แน่นอนสามารถหายได้ใน 1-2 สัปดาห์โดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็น โดยแผลชนิดนี้ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อเริม
อย่างไรก็ตาม หากเกิดอาการต่อไปนี้ควรไปพบแพทย์ เป็นแผลขนาดใหญ่ผิดปกติ มีแผลเกิดใหม่ในขณะที่แผลเก่ายังไม่หาย และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อาการไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์ เมื่อสัมผัสแล้วไม่รู้สึกเจ็บ มีแผลเกิดขึ้นบริเวณริมฝีปาก ยาหรือการดูแลด้วยตนเองเบื้องต้นไม่สามารถบรรเทาอาการปวดได้ มีปัญหาในการดื่มน้ำอย่างรุนแรงหรือไม่สามารถรับประทานอาหารได้ มีไข้สูงหรือท้องเสียร่วมกับเกิดแผลในปาก
สาเหตุของแผลในปาก
ในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุของการเกิดแผลในปากได้อย่างแน่ชัด แต่พบว่ามีหลายปัจจัยที่อาจทำให้เกิดแผลได้ ดังนี้
- การระคายเคืองในช่องปาก อาจเกิดจากการระคายเคืองในช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นการแปรงฟันแรงเกินไป การเสียดสีกับลวดจัดฟัน แผลจากอุบัติเหตุ แผลจากทันตกรรม กัดปากหรือกระพุ้งแก้ม การใช้ยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปากที่ผสมสารเพิ่มฟอง (Sodium lauryl sulfate) อาการไวต่ออาหารบางชนิด อย่างถั่ว ไข่ ช็อกโกแลต กาแฟ หรืออาหารรสจัดและอาหารที่มีกรด
- การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและอารมณ์อาจส่งผลให้เกิดแผลได้ เช่น การขาดสารอาหาร โดยเฉพาะธาตุเหล็ก สังกะสี กรดโฟลิค วิตามินบี 6 และ 12 การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนภายในช่วงรอบเดือน พักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียด เป็นต้น
- เชื้อโรคในช่องปาก เชื้อโรคในช่องปากและโรคจากการติดเชื้ออาจส่งผลให้เกิดแผลได้ อย่างเชื้อเอชไพโลไร(Helicobacter pylori) ซึ่งเป็นเชื้อชนิดเดียวกันที่ทำให้เกิดแผลในทางเดินอาหาร โรคเริม เชื้อเอชไอวีหรือโรคเอดส์ โรคเชื้อราในปาก หรืออาจเกิดจากการแพ้เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือเชื้อราภายในช่องปาก นอกจากนี้ การละเลยการดูแลช่องปากก็อาจเป็นสาเหตุของแผลในช่องปากได้
- เกิดจากโรคและสุขภาวะ แผลในปากอาจเป็นสัญญาณหรืออาการของโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคเซลิแอค(Celiac disease) หรือโรคแพ้กลูเตน โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง โรคเบเซ็ท (Behcet’s disease) หรือโรคหลอดเลือดอักเสบ ระบบภูมิคุ้มกันทำงานบกพร่อง โรคมะเร็งช่องปาก เป็นต้น
นอกจากนี้ ผู้ที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้นอาจเกิดอาการแผลในช่องปากได้บ่อยกว่าคนกลุ่มอื่น โดยจะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย แผลในปากนั้นอาจส่งต่อผ่านทางพันธุกรรมหรือเกิดจากปัจจัยร่วมในครอบครัว อย่างสภาพแวดล้อมหรืออาหารที่รับประทานร่วมกันในครัวเรือน
การรักษาแผลในปาก
แพทย์อาจวินิจฉัยแผลในปากด้วยการสังเกตรอยแผลเท่านั้น แต่หากอาการอยู่ในขั้นรุนแรงอาจใช้วิธีอื่นๆ ตรวจสอบตามดุลยพินิจของแพทย์ สามารถหายได้เองเมื่อผ่านไปสักระยะ แต่การใช้ยาและการรักษาด้วยตนเองก็อาจช่วยให้อาการแผลหายได้เร็วขึ้น โดยวิธีที่อาจใช้ในการรักษามี ดังนี้
รักษาด้วยตนเอง การรักษาแผลในปากด้วยตนเองสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
- ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
- รักษาความสะอาดภายในช่องปากอยู่เสมอ
- รับประทานอาหารที่มีวิตามินและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะกรดโฟลิค สังกะสี วิตามินบี 6 และ 12
- บ้วนปากด้วยน้ำเกลือหรือน้ำอุ่นผสมเบกกิ้งโซดา
- ประคบน้ำแข็ง โดยนำก้อนน้ำแข็งวางบริเวณแผลภายในปากอย่างเบามือ
- ประคบแผลด้วยถุงชาหมาดๆ
- รักษาด้วยสมุนไพร อย่างชาคาโมมายล์ เอ็กไคนาเซีย (Echinacea) มดยอบ และรากชะเอมเทศที่มีสรรพคุณทางยา
รักษาด้วยยาและอาหารเสริม การใช้ยาและอาหารเสริมเพื่อรักษาแผลในปาก ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนการใช้ยาและอาหารเสริม ซึ่งการรักษาด้วยยาและอาหารเสริมที่อาจช่วยบรรเทาอาการแผลปากอาจมี ดังนี้
- รับประทานยาแก้ปวด อย่างพาราเซตามอล
- ใช้ยาเฉพาะจุดที่มีส่วนประกอบอย่างเบนโซเคน (Benzocaine) ฟลูโอซิโนโลน (Fluocinonide) และไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ (Hydrogen peroxide)
- บ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมสเตียรอยด์อาจช่วยลดอาการปวดบวมได้
- ทาแผลด้วยมิลค์ออฟแมกนีเซียม(Milk of magnesia) หรือยาที่ใช้ลดกรด และช่วยเรื่องการขับถ่าย
- รับประทานอาหารเสริม อย่างกรดโฟลิค สังกะสี วิตามินบี 6 และ 12
อย่างไรก็ตาม เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยา อาหารเสริม รวมถึงการรักษาด้วยตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่อาจเป็นอันตราย นอกจากนี้ ยังควรแปรงฟันอย่างเบามือและหลีกเลี่ยงอาหารรสจัดเพื่อช่วยให้แผลในปากหายได้เร็วขึ้น
ภาวะแทรกซ้อนและการป้องกันแผลในปาก
แผลในปากอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบื่ออาหาร เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (Cellulitis) การติดเชื้อในช่องปาก และโรคมะเร็งช่องปาก เป็นต้น นอกจากนี้ การสัมผัสกับแผลอาจเป็นการกระจายเชื้อของโรคติดต่อ
เนื่องจากสาเหตุในการเกิดแผลนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด จึงอาจไม่สามารถป้องกันได้ แต่อาจลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดแผลได้ ดังนี้
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- หลีกเลี่ยงการรับประทานที่อาหารร้อนจัด และรับประทานอาหารรสจัดแต่พอดี
- แปรงฟันอย่างเบามือ
- ระมัดระวังขณะเคี้ยวอาหาร
- รักษาความสะอาดช่องปากอยู่เสมอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ทำกิจกรรมผ่อนคลายความเครียด
ลักษณะแผลในปากชนิดต่างๆ
- แผลที่เกิดจากการระคายเคืองของกระพุ้งแก้มและลิ้น
สาเหตุของการระคายเคืองเกิดการกระแทกจนเกิดแผลในปาก ซึ่งอาจเกิดจากการที่มีขอบฟันคม ฟันสึก ฟันผุมาก วัสดุอุดหลุด ฟันแตก ฟันบิ่น ฟันปลอมที่ขอบไม่เรียบ รวมถึงเครื่องมือจัดฟันทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกบริเวณกระพุ้งแก้ม ลิ้น เป็นรอยถลอก หรือเป็นแผลได้
ฟันที่ขึ้นผิดปกติโดยเฉพาะฟันกรามบนซี่สุดท้าย ฟันที่ขึ้นซ้อนเกเวลากัดจะกระแทกกระพุ้งแก้มทำให้เกิดแผลแผลในปากได้ การเคี้ยวอาหารพลาดไปกัดกระพุ้งแก้ม ลิ้น หรือริมฝีปาก รวมถึงการใส่ฟันปลอมที่หลวมหรือไม่พอดี เคี้ยวแล้วเจ็บเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุของแผลในช่องปากที่พบได้บ่อย
ลักษณะของแผล
ลักษณะเป็นแผลแผลในปากเฉพาะที่ตรงบริเวณที่ได้รับการกระแทก หรือระคายเคือง โดยปกติแผลควรจะหายภายใน 1 สัปดาห์ภายหลังที่กำจัดหรือแก้ไขสาเหตุแล้ว
การรักษา
การรักษาแผลชนิดนี้ทำได้โดยการกำจัดหรือแก้ไขสาเหตุ ร่วมกับการอมน้ำเกลืออุ่นๆวันละหลายๆครั้ง ในรายที่เป็นรุนแรงแผลมีขนาดใหญ่เจ็บมาก จำเป็นต้องใช้ยาทาเฉพาะที่ซึ่งมีส่วนผสมที่มีคุณสมบัติในการปิดแผล ไม่ให้ถูกระคายเคืองและช่วยลดการอักเสบของแผลช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นรวมทั้งบรรเทาอาการเจ็บแผลด้วย
- แผลในปากเกิดจากเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ (เริม)
เรียกกันทั่วๆไปว่า “เริม” พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่ที่เป็นในเด็กจะเป็นการติดเชื้อไวรัสนี้ครั้งแรก หลังจากหายแล้วจะเป็นซ้ำได้อีกบ่อยๆ แต่อาการจะรุนแรงน้อยกว่า
การติดเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ครั้งแรกที่พบในเด็กในระยะเริ่มแรก จะมีอาการเหมือนเป็นไข้หวัดมีไข้อ่อนเพลียในปากจะมีอาการเจ็บประมาณ 1-2 วัน หลังจากนั้นจะมีตุ่มน้ำใสเล็กๆอยู่เป็นกลุ่ม กระจายอยู่ทั่วไปในปาก ได้แก่ กระพุ้งแก้ม ลิ้น เพดานเหงือก หลังจากนั้นตุ่มน้ำใสจะแตกออกเป็นแผลมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันไม่แน่นอน มีอาการเจ็บมาก ทำให้รับประทานอาหารไม่ได้ น้ำลายออกมากกว่าปกติ แผลจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายได้เองภายใน 2 สัปดาห์
การรักษา
แผลติดเชื้อไวรัส เฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์หรือ เริม โดยธรรมชาติจะหายได้เองภายใน 10-14 วันการรักษาส่วนใหญ่ เป็นการรักษาตามอาการ โดยให้ยาลดไข้ ดื่มน้ำมากๆ รับประทานอาหารอ่อน พักผ่อนให้เพียงพอ อาจให้ยาอมบ้วนปากที่มีส่วนผสมของยาชา เพื่อช่วยลดอาการเจ็บ ช่วยให้ปากสบายขึ้น ดูแลรักษาความสะอาดในช่องปากให้ดี แผลจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายได้เอง
ถ้าหากอาการรุนแรง อาจจำเป็นต้องให้ยาต้านเชื้อไวรัส ซึ่งจะต้องให้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกที่เป็น จะได้ผลดี สำหรับแผลเริมนั้นมีโอกาสที่จะเป็นซ้ำได้ ถ้าหากร่างกายอยู่ในภาวะอ่อนแอ พักผ่อนไม่พอ เป็นไข้หวัด ขาดอาหาร มีความเครียด ถูกแสงแดดจัดๆ หรือลมทะเล เหล่านี้เป็นปัจจัยที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ซ้ำใหม่ได้อีก
- แผลร้อนใน
พบได้บ่อยเป็นแผลที่เป็นๆหายๆ เป็นประจำพบได้ในคนทุกอายุทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดแต่มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ มีการระคายเคือง การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน โดยเฉพาะในผู้หญิงซึ่งพบว่ามักจะเป็นแผลชนิดนี้ช่วงก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน
นอกจากนี้ ความเครียดความกังวล การพักผ่อนไม่เพียงพอ ก็เป็นสาเหตุซึ่งพบได้บ่อยในเด็กนักเรียนระยะใกล้สอบ หรือในกลุ่มผู้บริหารนักธุรกิจซึ่งมักจะมีความเครียดความกังวลสูง
การขาดสารอาหารได้แก่วิตามิน บี 12 (โฟลิกแอซิด) หรือภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กโรคของระบบทางเดินอาหารพบว่าเป็นสาเหตุทำให้เกิดแผลชนิดนี้ได้
ลักษณะของแผล
ลักษณะของแผลชนิดนี้มีได้แตกต่างกัน อาจพบเป็นเพียงแผลเดี่ยวๆ หรือ 2-3 แผล มีขนาดเล็กกว่า 1 เซนติเมตร จะเป็นอยู่ประมาณ 7-10 วันแผลจะหายได้เองโดยไม่มีแผลเป็น และจะเป็นใหม่ซ้ำอีกเป็นประจำ
อีกลักษณะหนึ่งจะพบเป็นแผลขนาดใหญ่ (มากกว่า 1 เซนติเมตร) แผลจะลึกกว่าแบบแรกและมีอาการเจ็บรุนแรงมากกว่าเป็นอยู่นานกว่า 2-3 สัปดาห์ หรือบางรายอาจจะเป็นเดือน หลังจากแผลหายแล้ว จะมีแผลเป็น
นอกจากนี้อาจจะเป็นแผลขนาดเล็กเหมือนกับแบบแรกแต่จะมีจำนวนมากกว่าประมาณ 10 แผลขึ้นไปในการเป็นแต่ละครั้ง แผลชนิดนี้ส่วนใหญ่พบที่บริเวณกระพุ้งแก้ม พื้นช่องปากด้านข้างลิ้น หรือใต้ลิ้นริมฝีปากด้านใน ลักษณะของแผลในระยะเริ่มแรกจะเป็นจุดแดงขึ้นมาก่อนประมาณ 1-2 วัน และต่อมาจะกลายเป็นแผลซึ่งจะมีอาการเจ็บมากในช่วง 2-3 วันแรก ทำให้รับประทานอาหารลำบาก โดยเฉพาะแบบที่แผลมีขนาดใหญ่หลังจากนั้นอาการเจ็บจะทุเลาลงแผลชนิดนี้หลังจากหายแล้วมีโอกาสที่จะเกิดซ้ำเป็นใหม่ได้อีก
การรักษา
ส่วนใหญ่เป็นการลดการอักเสบ ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ช่วงระยะเวลาที่เป็นสั้นลง และการเกิดเป็นซ้ำห่างออกไป ในกรณีที่เกิดจากการขาดสารอาหารพวกวิตามิน บี 12 การให้สารอาหารนี้จะช่วยลดความรุนแรงของอาการเจ็บ จำนวนแผลระยะเวลาการหายและความถี่ของการเกิดแผลใหม่ซ้ำอีก
- แผลติดเชื้อราแคนดิดา
ลักษณะของแผลติดเชื้อราแคนดิดามีได้ถึง 4 รูปแบบ คือ
แบบที่ 1 พบเป็นแผลอักเสบ แต่มีฝ้าขาวเช็ดออกได้ปกคลุมอยู่ กระจายอยู่ทั่วไปในช่องปาก แผลชนิดนี้พบบ่อยในเด็กทารก หญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ที่ใช้ยาพวกสเตียรอยด์ทั้งในรูปของการทาเฉพาะที่หรือรับประทาน ยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บไม่มากรู้สึกสากๆ ในปากรับประทานอาหารไม่รู้รส
แบบที่ 2 มีการอักเสบเป็นรอยแดงจัด พบที่บริเวณกระพุ้งแก้ม ลิ้น เพดาน มีอาการปวดแสบปวดร้อนและเจ็บร่วมด้วย โดยเฉพาะที่ลิ้น ทำให้รับประทานอาหารไม่ได้พบในผู้ที่รับประทานยาปฏิชีวนะติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อ
แบบที่ 3 พบในผู้ที่ใส่ฟันปลอมบนตลอดเวลา แม้เวลานอน จะพบมีการติดเชื้อราแคนดิดาที่เยื่อเมือกเพดานส่วนที่รองรับฐานของฟันปลอมทั้งหมด มีลักษณะเป็นการอักเสบสีแดงจัด บวม ไม่เจ็บ ในรายที่เป็นมานานอาจพบมีเนื้องอกหรือการโตขึ้นของเยื่อเมือกเพดาน
แบบที่ 4 ลักษณะเป็นฝ้าขาวหนาตัวขึ้นมา เช็ดไม่ออก พบที่บริเวณกระพุ้งแก้มใกล้มุมปาก หรือลิ้นด้านบน แผลชนิดนี้บางครั้งอาจพบมีการอักเสบแดงร่วมด้วย มีอาการเจ็บหรือปวดแสบปวดร้อน
การรักษา
การให้การรักษาการติดเชื้อราแคนดิดา ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหน จำเป็นจะต้องให้ยาต้านเชื้อรา ซึ่งมีทั้งที่เป็นแบบยาน้ำอมกลั้วในปากให้ทั่ว หรือยาชนิดเม็ดใช้อมให้ฟู่ในช่องปาก หรือเป็นยารับประทาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรง
ซึ่งทันตแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่า ควรใช้ในรูปแบบใด รวมทั้งการใช้น้ำยาอมบ้วนปากร่วมด้วย ในกรณีที่ใส่ฟันปลอมจำเป็นต้องกำจัดเชื้อราที่ฟันปลอมด้วย โดยต้องถอดฟันปลอมออกแช่น้ำยาฆ่าเชื้อ ส่วนใหญ่แล้วยาต้านเชื้อราให้ผลในการรักษาดี โดยทั่วไปควรจะหายเป็นปกติภายในสองสัปดาห์
- แผลไลเคนพลานัส
แผลในปากอีกชนิดหนึ่งซึ่งพบได้ค่อนข้างบ่อย มักพบในผู้ใหญ่วัยกลางคนเป็นส่วนใหญ่ เรียกว่าไลเคน พลานัส ซึ่งจะมีอาการปวดแสบปวดร้อน เจ็บในปาก ทำให้รับประทานอาหารโดยเฉพาะพวกรสจัดรสเผ็ดไม่ได้ เป็นเรื้อรัง
แผลชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นรอยอักเสบแดงและล้อมรอบด้วยเส้นลายขาวๆตรงกลาง เป็นแผลสีเหลืองปนเทา พบที่บริเวณกระพุงแก้มบริเวณฟันกราม หลังที่รอยต่อระหว่างเหงือกและกระพุ้งแก้ม ที่ด้านข้างของลิ้นเพดานเหงือก
สาเหตุของแผลชนิดนี้ไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาใช้รักษาความดันโลหิตสูงบางตัว มีผลทำให้เกิดรอยโรคนี้ได้ นอกจากนี้พบว่าความเครียดความวิตกกังวลมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดแผลชนิดนี้ และมีความรุนแรงมากขึ้นได้ ไลเคนพลานัส เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งซึ่งจะมีรอยโรคทั้งที่ผิวหนังและในช่องปาก หรืออาจจะพบเฉพาะที่ใดที่หนึ่งเพียงแห่งเดียวก็ได้
อาการแบบไหนเสี่ยงมะเร็งในช่องปาก
นอกจากการเป็นแผลเรื้อรังในช่องปากแล้ว หากสังเกตว่ามีฝ้าขาวๆ หรือแดง ที่เยื่อบุในช่องปาก มีตุ่มหรือก้อนโดยขนาดของก้อนใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ คลำพบก้อนบริเวณลำคอ แต่กดแล้วไม่เจ็บ มีอาการฟันโยกหรือฟันหลุด มีปัญหาเรื่องการเคี้ยวหรือการกลืนอาหาร หรือมีเลือดออกผิดปกติในช่องปาก อาการเหล่านี้ คือสัญญาณเตือนว่าคุณอาจกำลังเป็นมะเร็งในช่องปาก
แผลในปากที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ก็คือมะเร็งในช่องปาก ซึ่งส่วนใหญ่ถ้าหากได้รับการตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้าปล่อยไว้จนแผลนั้นลุกลามมากขึ้นทำให้การรักษายุ่งยาก และบางครั้งสายเกินไปที่จะให้การรักษาได้ มะเร็งในช่องปากบางชนิด เริ่มจากการเป็นแผลจากการระคายเคือง แต่ไม่ได้รับการกำจัดสาเหตุและรักษา ปล่อยไว้จนกลายเป็นเนื้อร้าย มะเร็งในระยะแรกอาจไม่มีอาการเจ็บ ทำให้ผู้ป่วยละเลย ดังนั้น เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้น ควรจะรีบพบทันตแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย การดูแลสุขภาพในช่องปากให้ดีอยู่เสมอเป็นสิ่งสำคัญ การพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพในช่องปากอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง เป็นเรื่องจำเป็นซึ่งจะช่วยให้ตรวจพบการเปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติได้
เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- จอประสาทตาเสื่อม สามารถรักษาได้
- เหงื่อออก มีวิธีดูแลตัวเองง่ายๆ
- มะเร็งกระเพาะอาหาร มีสาเหตุ อาการและวิธีรักษาอย่างไร
- โรคนิ่ว มีกี่ชนิด มีอาการและการรักษาอย่างไร
ที่มาของบทความ
- http://www.wircares.com
- https://www.paolohospital.com
- https://www.sktdental.com
- https://www.istockphoto.com/462602483-32759516
- https://www.istockphoto.com/659939632-120376343
ติดตามเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่ gmgwash.com
สนับสนุนโดย ufabet369
Economy
-
ธนาคารอังกฤษคืออะไรและเหตุใดจึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย
ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษคืออะไรและเหตุใดจึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในเดือนพฤษภาคม ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลักจาก 4.25% เป็น 4.5% เนื่องจากยังคงพยายามควบคุมราคาที่สูงขึ้น
นับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นครั้งที่ 12 นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564
ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษคืออะไร?
ธนาคารแห่งอังกฤษเป็นธนาคารกลางของสหราชอาณาจักร เป็นอิสระจากรัฐบาล
โดยอธิบายถึงหน้าที่หลักในการทำให้สหราชอาณาจักรมีธนบัตรที่ปลอดภัย ราคาที่มีเสถียรภาพ ภาคการธนาคารที่ปลอดภัย และระบบการเงินที่ยืดหยุ่น
ทำไมธนาคารแห่งประเทศอังกฤษจึงเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย?
ธนาคารมีเป้าหมายที่จะรักษาอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นมาตรวัดอย่างเป็นทางการว่าราคาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพียงใด อยู่ที่ 2%อัตราเงินเฟ้อ CPI ทั่วไปลดลงจากระดับสูงสุดที่ 11.1% ในเดือนตุลาคม 2565 แต่ในเดือนพฤษภาคม 2566 อัตรานี้อยู่ที่ 8.7% ซึ่งยังคงมากกว่าเป้าหมายถึงสี่เท่า
แต่อัตราเงินเฟ้อ “พื้นฐาน” ซึ่งไม่รวมราคาพลังงาน อาหาร แอลกอฮอล์ และยาสูบ เพิ่มขึ้นเป็น 7.1% ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 6.8% ในเดือนเมษายนและเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2535
การตอบสนองแบบดั้งเดิมของธนาคารต่ออัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นคือการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักร
สิ่งนี้มีอิทธิพลต่ออัตราการออมและการกู้ยืมที่เรียกเก็บโดยธนาคารชั้นนำสำหรับบุคคลและธุรกิจ
ในเดือนพฤษภาคม ธนาคารขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 12 ติดต่อกัน โดยเพิ่มเป็น 4.5% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบเกือบ 15 ปี
การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอาจหมายถึงผู้คนมีแนวโน้มที่จะออมเงินมากขึ้นและมีโอกาสกู้ยืมน้อยลง
ในทางทฤษฎี หมายความว่าพวกเขาจะซื้อของน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากต้องจ่ายมากขึ้นสำหรับสิ่งต่างๆ เช่น การจำนอง ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ยังทำให้บริษัทกู้ยืมเงินและขยายธุรกิจได้ยากขึ้น
อีกทางหนึ่ง หากธนาคารปรับลดอัตราดอกเบี้ย แรงจูงใจในการออมเงินก็จะน้อยลงและการกู้ยืมก็จะยิ่งถูกลง
สิ่งนี้สามารถกระตุ้นให้ธุรกิจกู้ยืมและผู้คนออกไปจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น กระตุ้นเศรษฐกิจ
อัตราดอกเบี้ยของสหราชอาณาจักร: พวกเขาจะไปได้สูงแค่ไหน?
ทำไมราคาถึงเพิ่มขึ้นมาก?
ทำไมอัตราเงินเฟ้อลดลง แต่ราคายังคงเพิ่มขึ้น
ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยอย่างไร?
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารมีการประชุมแปดครั้งต่อปีเพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ยหลังจากการประชุมเบื้องต้นหลายครั้ง สมาชิกเก้าคนของคณะกรรมการจะลงมติว่าจะเพิ่ม ลด หรือคงอัตราดอกเบี้ย และจะมีการเผยแพร่การตัดสินใจโดยรวมของพวกเขาในเวลาเที่ยงวัน
มีการเผยแพร่รายงานการประชุมที่มีการตัดสินใจด้วย
ธนาคารยังเผยแพร่รายงานนโยบายการเงินปีละสี่ครั้ง ซึ่งกำหนดการวิเคราะห์เศรษฐกิจและประมาณการเงินเฟ้อที่คณะกรรมการนโยบายการเงินใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย
ธนาคารทำอะไรอีกบ้าง?
ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษยังซื้อและขายพันธบัตรรัฐบาล
พันธบัตรเป็นเหมือน “ฉันเป็นหนี้คุณ” จากรัฐบาลซึ่งใช้พวกเขาในการหาเงินเพื่อช่วยให้เป็นไปตามข้อผูกพันในการใช้จ่าย
ในช่วงวิกฤตการเงินปี 2552 จนถึงปี 2564 ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษได้ซื้อพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 875 พันล้านปอนด์ สิ่งนี้ทำผ่านกระบวนการที่เรียกว่ามาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ ซึ่งออกแบบมาเพื่อลดต้นทุนการกู้ยืมของรัฐบาลโดยรวม ลดอัตราดอกเบี้ย และกระตุ้นการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจ
ธนาคารยังประกาศโครงการซื้อพันธบัตรฉุกเฉินเพื่อพยายามรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจหลังจากที่งบประมาณขนาดเล็กในเดือนกันยายน 2565 ทำให้เกิดความวุ่นวายในตลาดการเงิน
เมื่อการแทรกแซงดังกล่าวสิ้นสุดลง ธนาคารกล่าวว่าจะดำเนินการตามแผนซึ่งประกาศครั้งแรกในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 เพื่อขายพันธบัตรรัฐบาลบางส่วนที่ถืออยู่
ธนาคารมีหน้าที่รับผิดชอบอะไรอีกบ้าง?
ธนาคารยัง:
ผลิตธนบัตรและดูแลการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตและบัตรเดบิต
ควบคุมธนาคารและสมาคมอาคาร
ตรวจสอบความเสี่ยงในระบบการเงินของสหราชอาณาจักรและดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยง เช่น การให้กู้ยืมแก่ธนาคารหากต้องการ มันแบ่งปันความรับผิดชอบในเรื่องนี้กับกระทรวงการคลังและหน่วยงานกำกับดูแลทางการเงิน Financial Conduct Authority
เก็บสำรองทองคำของสหราชอาณาจักร – 400,000 แท่งมูลค่ามากกว่า 200 พันล้านปอนด์ – เช่นเดียวกับธนาคารกลางอื่น ๆใครเป็นผู้รับผิดชอบธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ?
แอนดรูว์ เบลีย์เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าการในปี 2562 โดยทำงานที่ธนาคารมากว่า 30 ปี
เขาเป็นหัวหน้าแคชเชียร์ของธนาคารตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2547 จนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 ซึ่งหมายความว่าลายเซ็นของเขาปรากฏบนธนบัตรหลายพันล้านใบในสหราชอาณาจักร
นอกจากมีหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลความรับผิดชอบหลักของธนาคารแล้ว ผู้ว่าการยังเป็นประธานคณะกรรมการสำคัญ 3 ชุดที่จะช่วยให้ธนาคารทำงานไปสู่เป้าหมาย ได้แก่ คณะกรรมการนโยบายการเงิน คณะกรรมการนโยบายการเงิน
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจในเว็บของเรา
บุสเก็ตส์ กล่าวยกย่อง ‘เป๊ป’ เป็นโค้ชที่ดีที่สุด
รีวิวภาพยนต์เรื่อง The Magic Flute – ขลุ่ยวิเศษ
เลือดกำเดาไหล ในเด็กหายได้เองเมื่อโตขึ้น
Clean Snatch Dead Island 2 How to Beat
9 เหตุผลว่าทำไมกาแฟ (ในปริมาณที่เหมาะสม) ถึงดีสำหรับคุณ
ขอบคุณรูปภาพจาก pexels.com
แหล่งที่มา https://www.bbc.com/news/business
สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ gmgwash.com
Latest News
Ratchet & Clank Rift Apart ควรทำหลังจากเอาชนะเกม
Ratchet & Clank Rift ...
แมนเชสเตอร์ซิตี้ แข่งขันกับ อาร์เซนอล เพื่อแย่ง ดีคลัน ไรซ์
เตรียมแข่งขันระหว่าง แมนเ...